วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
เปลี่ยนค่ายไม่เปลี่ยนเบอร์
หลังจากรอคอยจนปวดตับมาหลายปีดีดัก มีทั้งเดินขบวนเรียกร้อง ทั้งยื่นหนังสือ ในที่สุดความฝันประการหนึ่งของผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือก็เป็นจริง เมื่อ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ได้ลงประกาศหลักเกณฑ์ในการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Number Portability) ในราชกิจจานุเบกษา
การคงสิทธิเลขหมาย พูดให้เข้าใจเป็นการทั่วไปก็คือการที่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือสามารถเปลี่ยนเครือข่ายผู้ให้บริการได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนเบอร์ ยังคงใช้เบอร์เดิมต่อได้จนกว่าจะเบื่อไปเอง ซึ่งเป็นประเด็นที่องค์กรด้านสิทธิผู้บริโภคเคลื่อนไหวมาเป็นเวลานาน แต่ทางฝั่งผู้ให้บริการกลับมีทีท่าเกี่ยงงอนเสมอมา
วันที่รอคอย
“การเปลี่ยนเครือข่ายโดยไม่เปลี่ยนเลขหมาย เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นมาในโลกประมาณปี 2544 และมันก็ถูกกำหนดไว้ในกฎหมายตั้งแต่ปี 2544 ทันทีเช่นกันว่าเป็นสิทธิของผู้บริโภค แต่ยังไม่มีการดำเนินการ จริงๆ ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างแท้จริง ซึ่งต้องยอมรับว่า ผู้ให้บริการในเมืองไทยมีน้อยราย ดังนั้นจึงมีทางเลือกน้อยกว่าในต่างประเทศเยอะ
ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เล่าถึงแนวคิดในการคงสิทธิเลขหมายที่เริ่มก่อร่างสร้างตัวมาตั้งแต่เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว และกำลังจะเกิดขึ้นในบ้านเราเร็วๆ นี้
“สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น มันสามารถทำให้คนในบ้านเราเปลี่ยนเครือข่ายได้โดยไม่ต้องเปลี่ยน เบอร์โทรศัพท์มือถือเพราะผู้ใช้บริการส่วนหนึ่งเสียดายเลขหมาย เพราะมันมีต้นทุนในการเปลี่ยน เช่น ต้องเปลี่ยนนามบัตร ต้องเปลี่ยนใบเสร็จ ต้องแจ้งคู่ค้า ฯลฯ และต้องทนใช้บริการของที่เดิมอยู่ ทั้งๆ ที่ไม่พอใจ แต่ถ้าเปลี่ยนได้โดยเสรี ผู้ให้บริการก็ต้องมาใส่ใจกับบริการของตนมากขึ้น หรือไม่ก็ต้องมาทำกลยุทธ์ด้านราคาซึ่งจะส่งผลดีแก่ผู้บริโภค และมีการแข่งขันเสรีอย่างแท้จริง
“เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใหม่ หลายๆ ประเทศเพิ่งเริ่มดำเนินการ อย่างประเทศมาเลเซียก็เพิ่งเริ่มเมื่อปีที่แล้ว แต่โดยภาพรวมมันเกิดขึ้นได้ยาก เพราะต้องการความร่วมมือจากหลายฝ่าย และต้องมีหน่วยงานกลางในการจัดทำฐานข้อมูล กทช. นั้น สามารถกำหนดว่าต้องมี แต่ตัว กทช. เอง ไม่สามารถลงไปดำเนินการเองได้ เพราะเป็นขอบข่ายการดำเนินงานทางธุรกิจ”
แต่ถึงแม้จะมีกฎหมายระบุถึงเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน ตั้งแต่ปี 2544 แต่ที่ผ่านมาในด้านการปฏิบัติ ก็ยังไม่ได้มีความคืบหน้าเท่าที่ควร
“กฎหมายในไทยระบุไว้ตั้งแต่ปี 2544 บอกว่าต้องจัดให้มีระบบนี้ มันเป็นเหมือนกับนโยบายกว้างๆ มันเป็นสิ่งที่รัฐต้องผลักดันให้เกิด ขั้นต่อมาก็ออกเป็นประกาศ กทช. แต่ต้องมีการรับฟังความเห็น การเจรจากับผู้ประกอบการว่าเหมาะสมหรือไม่ ที่จะให้บริการในลักษณะนี้ นักวิชาการว่าอย่างไร ผู้บริโภคว่าอย่างไร สุดท้ายแล้วก็ต้องมีการหาข้อยุติ
“อย่างประเด็นเรื่องค่าบริการ ผู้ให้บริการบอกว่าน่าจะมีการเก็บค่าธรรมเนียม แต่ผู้บริโภคก็บอกว่า มีหลายๆ ประเทศที่ให้ฟรี อย่างนี้ก็ต้องรับฟังทั้งสองฝ่ายและหาข้อสรุปร่วมกัน การดำเนินงานที่ผ่านมาจึงไม่รวดเร็วทันใจ ในทางธุรกิจนั้นก็ส่งผลกระทบอย่างแน่นอน
“ในประเทศอื่นๆ ถ้าจะมีการย้ายเลขหมายจากบริษัท A ไปบริษัท B บริษัท B ต้องเป็นคนออกค่าใช้จ่าย เพราะว่าเขาได้ลูกค้า ซึ่งโดยปกติเขาต้องเสียค่าการตลาดเพื่อหาลูกค้ามาอยู่แล้ว แต่ในเมืองไทย เนื่องจากยังไม่แน่ใจว่า ใครจะได้ใครจะเสียจากเรื่องนี้ ดังนั้นจึงเอาต้นทุนจริงจากการดำเนินการมาหารกันดีกว่า และมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมได้ด้วย แต่ผู้ให้บริการรายไหนจะทำโปรโมชันไม่เก็บค่าธรรมเนียมก็ย่อมได้
“ที่ผ่านมา ทาง สบท. มีการจัดเวทีสภาผู้บริโภคสัญจร ตามจังหวัดใหญ่ๆ 13 จังหวัดทั่วประเทศไทย อย่างเชียงใหม่ สระบุรี ขอนแก่น ฯลฯ เพื่อถามว่าผู้บริโภคอยากได้อะไรการเปลี่ยนค่ายโดยไม่เปลี่ยนเบอร์นั้น ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่มีผู้บริโภคต้องการกันมาก อยากให้เกิดขึ้นจริงเร็วๆ”
เพิ่มการแข่งขัน เพื่อเศรษฐกิจ เพื่อผู้บริโภค
งานนี้คงต้องปรบมือให้ กทช. เพราะถือว่าผู้บริโภคได้ประโยชน์และมีทางเลือกมากขึ้นในการใช้บริการ เนื่องจากที่ผ่านมา ถ้าผู้บริโภคต้องการเปลี่ยนผู้ให้บริการอาจจะด้วยสาเหตุว่าการให้บริการของเจ้าเดิมไม่ตอบสนองความต้องการหรือมีค่าบริการที่สูงเกินไป ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนเบอร์ใหม่ไปเลย แค่ผู้บริโภคทั่วๆ ไป การเปลี่ยนเบอร์มือถือแต่ละครั้งหมายถึงความยุ่งยากในชีวิต เพราะต้องเที่ยวบอกกล่าวญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ให้รู้ว่าฉันเปลี่ยนเบอร์ใหม่แล้ว
ยิ่งถ้าเป็นนักธุรกิจด้วยแล้ว การเปลี่ยนเบอร์ใหม่ ในทางเลวร้ายสุดอาจหมายถึงทำให้การดีลข้อตกลงทางธุรกิจสะดุดหรือล่มเอาง่ายๆ เพราะเกิดอุปสรรคในการติดต่อ ทำให้ผู้ใช้บริการจำนวนหนึ่งต้องทนฝืนหรือไม่ก็เปิดบริการเปิดเลขหมายใหม่เพิ่ม ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการขาดแคลนเลขหมาย ดังที่เกิดขึ้นในปี 2550 ที่มีการเพิ่มเลขหมายโทรศัพท์มือถือจาก 9 หลัก เป็น 10 หลัก แทนที่เลขหมายโทรศัพท์จะเป็นทรัพยากรสาธารณะที่รัฐจัดหาไว้สำหรับบริการประชาชน กลับถูกมองเป็นทรัพย์สมบัติของเอกชนกลายๆ
การคงสิทธิเลขหมายจึงเป็นการลดต้นทุนทั้งของผู้บริโภคและของรัฐไปพร้อมๆ กัน
นอกจากนั้น นี่ยังเป็นกลไกที่จะเพิ่มการแข่งขันในธุรกิจโทรคมนาคม เพราะเมื่อผู้บริโภคมีทางเลือกและมีอิสระในการเปลี่ยนเครือข่ายผู้ให้บริการมากขึ้น ย่อมสร้างแรงกดดันให้เอกชนต้องปรับปรุงคุณภาพการให้บริการและราคาที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค มิเช่นนั้น ผู้บริโภคก็จะหันไปใช้บริการของเจ้าอื่นแทน ขณะเดียวกัน ยังถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้แข่งขันรายใหม่ๆ สามารถเข้าสู่ตลาดได้ง่ายขึ้น เพราะอุปสรรคจากการผูกขาดเหนือสิทธิเลขหมายของผู้ให้บริการเจ้าเดิมที่อยู่ในตลาดจะทุเลาลง
โดยค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนเครือข่ายที่ผู้ใช้บริการต้องเสีย ณ ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน แต่ตัวเลขที่มีการศึกษาเบื้องต้นอยู่ที่ 300 บาทต่อครั้ง ซึ่งตามประกาศที่ออกมาได้กำหนดเวลา 30 วัน ในการให้ผู้ให้บริการเสนอแผนปฏิบัติการในการคงสิทธิเลขหมาย และอีก 3 เดือนจากนั้น สำหรับการให้บริการจริง ซึ่งคาดว่าทุกอย่างจะเรียบร้อยภายในปลายปีนี้
อย่างไรก็ตาม ทางด้านผู้ให้บริการบางรายก็ออกมาบอกว่า ระยะเวลาที่ทาง กทช. กำหนดค่อนข้างกระชั้น และไม่น่าจะจัดการระบบเพื่อรองรับการคงสิทธิเลขหมายได้ทันภายใน 3 เดือน
เปลี่ยนใจ แต่ไม่อยากเปลี่ยนเบอร์
ปณัสย์ พุ่มริ้ว กองบรรณาธิการนิตยสารฉบับหนึ่ง เป็นอีกผู้หนึ่งที่รู้สึกอึดอัดกับการให้บริการของค่ายโทรศัพท์มือถือค่ายหนึ่งมาร่วม 7 ปี
เขากล่าวว่ารู้สึกดีใจมากที่นโยบายนี้เกิดขึ้นจริงๆ เสียที หลังจากที่รอมานานมาก และที่สำคัญเรื่องนี้ถือเป็นการให้โอกาสผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ากับตัวเองมากที่สุดด้วย ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือ
“ผมคิดว่าเป็นนโยบายที่ดีมาก เพราะเป็นการให้อิสระเรามากขึ้นในการเลือกใช้บริการ คือผมคิดว่าหากผู้บริโภครู้สึกว่าโปรโมชันที่ตัวเองใช้อยู่ไม่ดี เขาก็มีสิทธิ์จะเลือกได้ เพราะบางครั้งผมก็รู้สึกเหมือนถูกเอาเปรียบจากค่ายมือถือนะ อย่างตอนนี้ผมใช้มือถือของค่ายหนึ่ง ซึ่งเก็บค่าบริการแพงมาก
“อย่างเมื่อก่อน ผมต้องจ่ายนาทีแรก 3 บาท นาทีต่อไป 2 บาท หลังจากนั้นนาทีละบาท และแม้ว่าเขาจะลดราคามาแล้วก็ตาม แต่ก็ยังถือว่าแพงอยู่ เมื่อเทียบกับค่ายอื่นๆ ที่มีระบบเหมาจ่าย หรือโปรโมชันให้เลือกเยอะแยะเต็มไปหมด”
นอกจากนี้ เขายังกล่าวต่ออีกว่า ก่อนหน้านี้เคยมีความคิดที่เปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์เหมือนกัน เนื่องจากรู้สึกทนกับค่าบริการไม่ได้ แต่สุดท้ายก็ตัดใจไม่เปลี่ยนดีกว่า เนื่องจากรู้สึกเสียดายเบอร์ เพราะฉะนั้นเมื่อนโยบายนี้ออกมา ก็ทำให้เขาตัดสินใจได้ง่ายมากขึ้น
“ผมเคยคิดจะเปลี่ยนเบอร์นะ เพราะไม่ว่าจะย้ายไปโปรฯ ไหนมันก็ยังแพงอยู่ดี แต่ด้วยความที่ติดเบอร์เดิม คือแจกให้ใครต่อใครเยอะแยะมากมาย แล้วบางคนโอกาสที่เราจะคุยบ่อยๆ ก็ไม่มี หากเปลี่ยนเบอร์ไปก็อาจจะติดต่อไม่ได้เลย พอกลับมาคิดอย่างนี้ก็รู้สึกเสียดายไม่เปลี่ยนดีกว่า
“และถึงบางค่ายเขาจะมีบริการ SMS แจ้งเบอร์ใหม่ให้แก่คนที่เรามีเบอร์อยู่ในเครื่อง แต่พอกลับมาคิดถึงตัวเอง เวลาที่คนอื่นเปลี่ยนเบอร์ แล้วส่งข้อความแบบนี้มา ความรู้สึกของผมก็คือขี้เกียจ ยุ่งยาก ไม่ต้องเปลี่ยนหรอก ถ้าจะใช้เดี๋ยวค่อยเปลี่ยนก็ได้ พอถึงคราวที่เราเปลี่ยนเบอร์บ้าง ผมก็เลยมานั่งคิดว่าคงมีหลายคนที่ไม่ได้เซฟเบอร์ใหม่ของผม ซึ่งตรงนี้ผมรู้สึกว่ามันไม่คุ้มเลย และยิ่งพอได้รู้ว่าจะมีกฎหมายนี้ออกมา ก็เลยตัดสินใจรอดีกว่า”
และเมื่อถามถึงเรื่องการเปลี่ยนค่าย แล้วอาจจะกระทบต่อสัญญาณโทรศัพท์ ปณัสย์กล่าวว่า สำหรับเขาเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องรอง และมองว่าปัจจุบันนี้ค่ายมือถือต่างๆ ก็พยายามจะขยายสัญญาณออกไปครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ มากขึ้นอยู่แล้ว
“สำหรับผมแล้ว เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องรอง เพราะถ้าจะว่ากันจริงๆ โอกาสที่เราจะไปอยู่ที่ที่ไม่มีสัญญาณมันน้อยมากเลย ถ้าไม่ใช่ภูเขาหรือป่าลึกๆ เพราะเดี๋ยวนี้ผมมองว่าสัญญาณโทรศัพท์มันครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว และหากมีปัญหาแบบนั้นจริงๆ เราก็มีวิธีแก้ปัญหาได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะใช้โทรศัพท์สาธารณะหรือยืมเพื่อนก็ได้”
สุดท้ายนี้ ปณัสย์กล่าวยืนยันว่า ทันทีที่ระบบการย้ายค่ายใช้ได้จริงเมื่อใด เขาก็จะย้ายระบบทันทีเช่นกัน แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มก็ตาม เพราะเมื่อเทียบในระยะยาวแล้ว ยังไงการเปลี่ยนผู้ให้บริการก็คุ้มกว่าอยู่ดี
ที่มา : http://www.manager.co.th/
การคงสิทธิเลขหมาย พูดให้เข้าใจเป็นการทั่วไปก็คือการที่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือสามารถเปลี่ยนเครือข่ายผู้ให้บริการได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนเบอร์ ยังคงใช้เบอร์เดิมต่อได้จนกว่าจะเบื่อไปเอง ซึ่งเป็นประเด็นที่องค์กรด้านสิทธิผู้บริโภคเคลื่อนไหวมาเป็นเวลานาน แต่ทางฝั่งผู้ให้บริการกลับมีทีท่าเกี่ยงงอนเสมอมา
วันที่รอคอย
“การเปลี่ยนเครือข่ายโดยไม่เปลี่ยนเลขหมาย เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นมาในโลกประมาณปี 2544 และมันก็ถูกกำหนดไว้ในกฎหมายตั้งแต่ปี 2544 ทันทีเช่นกันว่าเป็นสิทธิของผู้บริโภค แต่ยังไม่มีการดำเนินการ จริงๆ ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างแท้จริง ซึ่งต้องยอมรับว่า ผู้ให้บริการในเมืองไทยมีน้อยราย ดังนั้นจึงมีทางเลือกน้อยกว่าในต่างประเทศเยอะ
ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เล่าถึงแนวคิดในการคงสิทธิเลขหมายที่เริ่มก่อร่างสร้างตัวมาตั้งแต่เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว และกำลังจะเกิดขึ้นในบ้านเราเร็วๆ นี้
“สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น มันสามารถทำให้คนในบ้านเราเปลี่ยนเครือข่ายได้โดยไม่ต้องเปลี่ยน เบอร์โทรศัพท์มือถือเพราะผู้ใช้บริการส่วนหนึ่งเสียดายเลขหมาย เพราะมันมีต้นทุนในการเปลี่ยน เช่น ต้องเปลี่ยนนามบัตร ต้องเปลี่ยนใบเสร็จ ต้องแจ้งคู่ค้า ฯลฯ และต้องทนใช้บริการของที่เดิมอยู่ ทั้งๆ ที่ไม่พอใจ แต่ถ้าเปลี่ยนได้โดยเสรี ผู้ให้บริการก็ต้องมาใส่ใจกับบริการของตนมากขึ้น หรือไม่ก็ต้องมาทำกลยุทธ์ด้านราคาซึ่งจะส่งผลดีแก่ผู้บริโภค และมีการแข่งขันเสรีอย่างแท้จริง
“เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใหม่ หลายๆ ประเทศเพิ่งเริ่มดำเนินการ อย่างประเทศมาเลเซียก็เพิ่งเริ่มเมื่อปีที่แล้ว แต่โดยภาพรวมมันเกิดขึ้นได้ยาก เพราะต้องการความร่วมมือจากหลายฝ่าย และต้องมีหน่วยงานกลางในการจัดทำฐานข้อมูล กทช. นั้น สามารถกำหนดว่าต้องมี แต่ตัว กทช. เอง ไม่สามารถลงไปดำเนินการเองได้ เพราะเป็นขอบข่ายการดำเนินงานทางธุรกิจ”
แต่ถึงแม้จะมีกฎหมายระบุถึงเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน ตั้งแต่ปี 2544 แต่ที่ผ่านมาในด้านการปฏิบัติ ก็ยังไม่ได้มีความคืบหน้าเท่าที่ควร
“กฎหมายในไทยระบุไว้ตั้งแต่ปี 2544 บอกว่าต้องจัดให้มีระบบนี้ มันเป็นเหมือนกับนโยบายกว้างๆ มันเป็นสิ่งที่รัฐต้องผลักดันให้เกิด ขั้นต่อมาก็ออกเป็นประกาศ กทช. แต่ต้องมีการรับฟังความเห็น การเจรจากับผู้ประกอบการว่าเหมาะสมหรือไม่ ที่จะให้บริการในลักษณะนี้ นักวิชาการว่าอย่างไร ผู้บริโภคว่าอย่างไร สุดท้ายแล้วก็ต้องมีการหาข้อยุติ
“อย่างประเด็นเรื่องค่าบริการ ผู้ให้บริการบอกว่าน่าจะมีการเก็บค่าธรรมเนียม แต่ผู้บริโภคก็บอกว่า มีหลายๆ ประเทศที่ให้ฟรี อย่างนี้ก็ต้องรับฟังทั้งสองฝ่ายและหาข้อสรุปร่วมกัน การดำเนินงานที่ผ่านมาจึงไม่รวดเร็วทันใจ ในทางธุรกิจนั้นก็ส่งผลกระทบอย่างแน่นอน
“ในประเทศอื่นๆ ถ้าจะมีการย้ายเลขหมายจากบริษัท A ไปบริษัท B บริษัท B ต้องเป็นคนออกค่าใช้จ่าย เพราะว่าเขาได้ลูกค้า ซึ่งโดยปกติเขาต้องเสียค่าการตลาดเพื่อหาลูกค้ามาอยู่แล้ว แต่ในเมืองไทย เนื่องจากยังไม่แน่ใจว่า ใครจะได้ใครจะเสียจากเรื่องนี้ ดังนั้นจึงเอาต้นทุนจริงจากการดำเนินการมาหารกันดีกว่า และมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมได้ด้วย แต่ผู้ให้บริการรายไหนจะทำโปรโมชันไม่เก็บค่าธรรมเนียมก็ย่อมได้
“ที่ผ่านมา ทาง สบท. มีการจัดเวทีสภาผู้บริโภคสัญจร ตามจังหวัดใหญ่ๆ 13 จังหวัดทั่วประเทศไทย อย่างเชียงใหม่ สระบุรี ขอนแก่น ฯลฯ เพื่อถามว่าผู้บริโภคอยากได้อะไรการเปลี่ยนค่ายโดยไม่เปลี่ยนเบอร์นั้น ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่มีผู้บริโภคต้องการกันมาก อยากให้เกิดขึ้นจริงเร็วๆ”
เพิ่มการแข่งขัน เพื่อเศรษฐกิจ เพื่อผู้บริโภค
งานนี้คงต้องปรบมือให้ กทช. เพราะถือว่าผู้บริโภคได้ประโยชน์และมีทางเลือกมากขึ้นในการใช้บริการ เนื่องจากที่ผ่านมา ถ้าผู้บริโภคต้องการเปลี่ยนผู้ให้บริการอาจจะด้วยสาเหตุว่าการให้บริการของเจ้าเดิมไม่ตอบสนองความต้องการหรือมีค่าบริการที่สูงเกินไป ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนเบอร์ใหม่ไปเลย แค่ผู้บริโภคทั่วๆ ไป การเปลี่ยนเบอร์มือถือแต่ละครั้งหมายถึงความยุ่งยากในชีวิต เพราะต้องเที่ยวบอกกล่าวญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ให้รู้ว่าฉันเปลี่ยนเบอร์ใหม่แล้ว
ยิ่งถ้าเป็นนักธุรกิจด้วยแล้ว การเปลี่ยนเบอร์ใหม่ ในทางเลวร้ายสุดอาจหมายถึงทำให้การดีลข้อตกลงทางธุรกิจสะดุดหรือล่มเอาง่ายๆ เพราะเกิดอุปสรรคในการติดต่อ ทำให้ผู้ใช้บริการจำนวนหนึ่งต้องทนฝืนหรือไม่ก็เปิดบริการเปิดเลขหมายใหม่เพิ่ม ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการขาดแคลนเลขหมาย ดังที่เกิดขึ้นในปี 2550 ที่มีการเพิ่มเลขหมายโทรศัพท์มือถือจาก 9 หลัก เป็น 10 หลัก แทนที่เลขหมายโทรศัพท์จะเป็นทรัพยากรสาธารณะที่รัฐจัดหาไว้สำหรับบริการประชาชน กลับถูกมองเป็นทรัพย์สมบัติของเอกชนกลายๆ
การคงสิทธิเลขหมายจึงเป็นการลดต้นทุนทั้งของผู้บริโภคและของรัฐไปพร้อมๆ กัน
นอกจากนั้น นี่ยังเป็นกลไกที่จะเพิ่มการแข่งขันในธุรกิจโทรคมนาคม เพราะเมื่อผู้บริโภคมีทางเลือกและมีอิสระในการเปลี่ยนเครือข่ายผู้ให้บริการมากขึ้น ย่อมสร้างแรงกดดันให้เอกชนต้องปรับปรุงคุณภาพการให้บริการและราคาที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค มิเช่นนั้น ผู้บริโภคก็จะหันไปใช้บริการของเจ้าอื่นแทน ขณะเดียวกัน ยังถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้แข่งขันรายใหม่ๆ สามารถเข้าสู่ตลาดได้ง่ายขึ้น เพราะอุปสรรคจากการผูกขาดเหนือสิทธิเลขหมายของผู้ให้บริการเจ้าเดิมที่อยู่ในตลาดจะทุเลาลง
โดยค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนเครือข่ายที่ผู้ใช้บริการต้องเสีย ณ ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน แต่ตัวเลขที่มีการศึกษาเบื้องต้นอยู่ที่ 300 บาทต่อครั้ง ซึ่งตามประกาศที่ออกมาได้กำหนดเวลา 30 วัน ในการให้ผู้ให้บริการเสนอแผนปฏิบัติการในการคงสิทธิเลขหมาย และอีก 3 เดือนจากนั้น สำหรับการให้บริการจริง ซึ่งคาดว่าทุกอย่างจะเรียบร้อยภายในปลายปีนี้
อย่างไรก็ตาม ทางด้านผู้ให้บริการบางรายก็ออกมาบอกว่า ระยะเวลาที่ทาง กทช. กำหนดค่อนข้างกระชั้น และไม่น่าจะจัดการระบบเพื่อรองรับการคงสิทธิเลขหมายได้ทันภายใน 3 เดือน
เปลี่ยนใจ แต่ไม่อยากเปลี่ยนเบอร์
ปณัสย์ พุ่มริ้ว กองบรรณาธิการนิตยสารฉบับหนึ่ง เป็นอีกผู้หนึ่งที่รู้สึกอึดอัดกับการให้บริการของค่ายโทรศัพท์มือถือค่ายหนึ่งมาร่วม 7 ปี
เขากล่าวว่ารู้สึกดีใจมากที่นโยบายนี้เกิดขึ้นจริงๆ เสียที หลังจากที่รอมานานมาก และที่สำคัญเรื่องนี้ถือเป็นการให้โอกาสผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ากับตัวเองมากที่สุดด้วย ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือ
“ผมคิดว่าเป็นนโยบายที่ดีมาก เพราะเป็นการให้อิสระเรามากขึ้นในการเลือกใช้บริการ คือผมคิดว่าหากผู้บริโภครู้สึกว่าโปรโมชันที่ตัวเองใช้อยู่ไม่ดี เขาก็มีสิทธิ์จะเลือกได้ เพราะบางครั้งผมก็รู้สึกเหมือนถูกเอาเปรียบจากค่ายมือถือนะ อย่างตอนนี้ผมใช้มือถือของค่ายหนึ่ง ซึ่งเก็บค่าบริการแพงมาก
“อย่างเมื่อก่อน ผมต้องจ่ายนาทีแรก 3 บาท นาทีต่อไป 2 บาท หลังจากนั้นนาทีละบาท และแม้ว่าเขาจะลดราคามาแล้วก็ตาม แต่ก็ยังถือว่าแพงอยู่ เมื่อเทียบกับค่ายอื่นๆ ที่มีระบบเหมาจ่าย หรือโปรโมชันให้เลือกเยอะแยะเต็มไปหมด”
นอกจากนี้ เขายังกล่าวต่ออีกว่า ก่อนหน้านี้เคยมีความคิดที่เปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์เหมือนกัน เนื่องจากรู้สึกทนกับค่าบริการไม่ได้ แต่สุดท้ายก็ตัดใจไม่เปลี่ยนดีกว่า เนื่องจากรู้สึกเสียดายเบอร์ เพราะฉะนั้นเมื่อนโยบายนี้ออกมา ก็ทำให้เขาตัดสินใจได้ง่ายมากขึ้น
“ผมเคยคิดจะเปลี่ยนเบอร์นะ เพราะไม่ว่าจะย้ายไปโปรฯ ไหนมันก็ยังแพงอยู่ดี แต่ด้วยความที่ติดเบอร์เดิม คือแจกให้ใครต่อใครเยอะแยะมากมาย แล้วบางคนโอกาสที่เราจะคุยบ่อยๆ ก็ไม่มี หากเปลี่ยนเบอร์ไปก็อาจจะติดต่อไม่ได้เลย พอกลับมาคิดอย่างนี้ก็รู้สึกเสียดายไม่เปลี่ยนดีกว่า
“และถึงบางค่ายเขาจะมีบริการ SMS แจ้งเบอร์ใหม่ให้แก่คนที่เรามีเบอร์อยู่ในเครื่อง แต่พอกลับมาคิดถึงตัวเอง เวลาที่คนอื่นเปลี่ยนเบอร์ แล้วส่งข้อความแบบนี้มา ความรู้สึกของผมก็คือขี้เกียจ ยุ่งยาก ไม่ต้องเปลี่ยนหรอก ถ้าจะใช้เดี๋ยวค่อยเปลี่ยนก็ได้ พอถึงคราวที่เราเปลี่ยนเบอร์บ้าง ผมก็เลยมานั่งคิดว่าคงมีหลายคนที่ไม่ได้เซฟเบอร์ใหม่ของผม ซึ่งตรงนี้ผมรู้สึกว่ามันไม่คุ้มเลย และยิ่งพอได้รู้ว่าจะมีกฎหมายนี้ออกมา ก็เลยตัดสินใจรอดีกว่า”
และเมื่อถามถึงเรื่องการเปลี่ยนค่าย แล้วอาจจะกระทบต่อสัญญาณโทรศัพท์ ปณัสย์กล่าวว่า สำหรับเขาเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องรอง และมองว่าปัจจุบันนี้ค่ายมือถือต่างๆ ก็พยายามจะขยายสัญญาณออกไปครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ มากขึ้นอยู่แล้ว
“สำหรับผมแล้ว เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องรอง เพราะถ้าจะว่ากันจริงๆ โอกาสที่เราจะไปอยู่ที่ที่ไม่มีสัญญาณมันน้อยมากเลย ถ้าไม่ใช่ภูเขาหรือป่าลึกๆ เพราะเดี๋ยวนี้ผมมองว่าสัญญาณโทรศัพท์มันครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว และหากมีปัญหาแบบนั้นจริงๆ เราก็มีวิธีแก้ปัญหาได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะใช้โทรศัพท์สาธารณะหรือยืมเพื่อนก็ได้”
สุดท้ายนี้ ปณัสย์กล่าวยืนยันว่า ทันทีที่ระบบการย้ายค่ายใช้ได้จริงเมื่อใด เขาก็จะย้ายระบบทันทีเช่นกัน แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มก็ตาม เพราะเมื่อเทียบในระยะยาวแล้ว ยังไงการเปลี่ยนผู้ให้บริการก็คุ้มกว่าอยู่ดี
ที่มา : http://www.manager.co.th/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)